top of page

การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ

เตยหรือหลิ่น


สถานที่เล่น   

ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
อุปกรณ์

ไม่มี

จำนวนผู้เล่น

6-12 คน 
วิธีเล่น
ขีด เส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี 6 คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ 
โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป 

ไม้หึ่ง หรือ อีหึ่ง


อุปกรณ์
แม่ไม้ 1 อัน มีขนาดความยาวประมาณ 24-32 นิ้ว โตขนาดเท่าไม้ถือ
ลูกไม้ 1 อัน มีขนาดความยาวประมาณ 3 นิ้ว โตขนาดเท่าส่วนปลายของแม่ไม้
ผู้เล่น 
ไม่จำกัดจำนวน โดยจะเล่นรวมทั้งชายและหญิง หรือเล่นเฉพาะชายกับชาย หญิงกับหญิงก็ได้ 

รูปแบบ 
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายตีและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรับ ดังภาพประกอบ

วิธีการเล่น

โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น 2 ต่อ 2 หรือ 3 ต่อ 3 ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ 1 คืบ ลึก 1นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุด ไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง 3 ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง 3 ครั้ง การตีจะ

พยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ 3 ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทาง จมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อ เช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกม นั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดย ใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)

ม้าจกคอก

 

อุปกรณ์

จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปอุปกรณ์
1. ไม้กลมขนาดกำรอบ ยาวประมาณ 5 ศอก จำนวน 2 ท่อน
2. ขอนไม้สูงประมาณ 1 คืบ ยาวประมาณ 1-2 ศอก จำนวน 2 ท่อนสถานที่เล่น เล่นบริเวณที่เป็นลานกว้าง

รูปแบบ
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกมี 2 คน

วิธีการเล่น

1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกมี 2 คน สำหรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ ส่วนฝ่ายที่ 2 มี 2 คนขึ้นไป สำหรับเป็นผู้เต้น
2. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่างคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำสัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่างที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๔ ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ ถ้าถูกหนีบเรียกว่า ม้าขำคอก หรือม้าติดคอก คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้นในระหว่างคานนั้นบ้าง

 

โพงพาง


สถานที่เล่น
สนาม ลานกว้าง
อุปกรณ์

ผ้าปิดตา
จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆ
กติกา
ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน

bottom of page